ม.1_Part2

ตัวอย่างข้อสอบสำหรับสอบคัดเลือก Minimum Standard Requirement (MSR)

เพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565

กรุณาอ่านคำอธิบายให้เข้าใจ ก่อนลงมือทำข้อสอบ

ข้อสอบทดลองระบบสอบออนไลน์ครั้งนี้ เป้าหมายเพื่อให้ผู้สอบมีความรู้ความเข้าใจ และข้อควรระวังในการสอบ

โดยจำลองเวลาสอบ จำนวนข้อในระบบทดลองสอบออนไลน์เป็นเพียงบางส่วนของการสอบจริง

ทางโรงเรียนขอสงวนสิทธิ์ไม่แจ้งจำนวนของข้อสอบจริงให้ผู้เข้าสอบทราบก่อน

แบบทดสอบฉบับนี้มีเวลาทำข้อสอบ  40  นาที

ข้อสอบส่วนที่ 2 ทั้งหมด  17  ข้อ  ประกอบด้วย

ตอนที่ 3 วิทยาศาสตร์ แบบปรนัย  8  ข้อ (ข้อ 1 - 8)

ตอนที่ 4 การอ่าน คิด วิเคราะห์ แบบปรนัย  9  ข้อ (ข้อ 9 - 17)

 
ข้อสอบนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ โรงเรียนสาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม
การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่เอกสารดังกล่าว จะถูกดําเนินคดีตามกฎหมาย

โปรดระบุ ชื่อ-นามสกุล ภาษาไทย (โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้านาม)
ระดับที่กำลังศึกษาอยู่ปัจจุบัน
โรงเรียนปัจจุบันที่กำลังศึกษา
เบอร์โทรติดต่อ
Email:
อ่านบทความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 1

 

            “เพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้อง” จากคำกล่าวของนโปเลียน โบนาปาร์ต กษัตริย์ประเทศฝรั่งเศสที่ว่านี้เอง ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการหาวิธีการเก็บรักษาอาหารให้ได้ระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในช่วงแรกเริ่มนั้น ภาชนะที่นิยมใช้บรรจุอาหารมี 2 ชนิด คือ ภาชนะที่ทำจากแก้วและภาชนะที่ทำจากเหล็ก แต่สุดท้ายแล้ว ภาชนะที่ทำจากเหล็กได้รับความนิยมมากกว่า การบรรจุอาหารใส่กระป๋องเหล็กได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพราะอาหารกระป๋องช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งทำให้สามารถจัดส่งสินค้าหรือนำติดตัวออกไปในสถานที่ห่างไกลจากโรงงานผลิตได้โดยอาหารไม่บูดเน่าหรือเสียขณะที่การบรรจุเครื่องดื่มในกระป๋องมีจุดเริ่มต้นช้ากว่าแต่มีจุดเริ่มต้นเหมือนกัน คือ บรรจุในขวดแก้วก่อนจากนั้นก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อบรรจุในกระป๋องเหล็กแต่ทุกวันนี้ผู้ผลิตเครื่องดื่มได้หันมาใช้กระป๋องอะลูมิเนียมแทนเนื่องจากอะลูมิเนียมมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง ได้แก่

ก. กระป๋องอะลูมิเนียมมีน้ำหนักเบากว่ากระป๋องเหล็ก – ความหนาแน่นของอะลูมิเนียมประมาณ 2.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ในขณะที่เหล็กมีความหนาแน่น 7.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
ข. กระป๋องอะลูมิเนียมไม่เป็นสนิมเหมือนเหล็ก – เนื่องจากการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ  ของอะลูมิเนียมได้สารออกไซด์ของอะลูมิเนียมที่เป็นฟิล์มบางๆเคลือบผิวของอะลูมิเนียม ในขณะที่เหล็กจะเกิดเป็นสนิม ที่กัดกร่อนผิวของเหล็กเอง
ค. การเคลือบผิวอะลูมิเนียมด้วยแลกเกอร์ทำได้ง่ายและติดแน่นกว่า
ง. อะลูมิเนียมต้านทานการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม

อ่านบทความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 1

 

            “เพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้อง” จากคำกล่าวของนโปเลียน โบนาปาร์ต กษัตริย์ประเทศฝรั่งเศสที่ว่านี้เอง ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการหาวิธีการเก็บรักษาอาหารให้ได้ระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในช่วงแรกเริ่มนั้น ภาชนะที่นิยมใช้บรรจุอาหารมี 2 ชนิด คือ ภาชนะที่ทำจากแก้วและภาชนะที่ทำจากเหล็ก แต่สุดท้ายแล้ว ภาชนะที่ทำจากเหล็กได้รับความนิยมมากกว่า การบรรจุอาหารใส่กระป๋องเหล็กได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพราะอาหารกระป๋องช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งทำให้สามารถจัดส่งสินค้าหรือนำติดตัวออกไปในสถานที่ห่างไกลจากโรงงานผลิตได้โดยอาหารไม่บูดเน่าหรือเสียขณะที่การบรรจุเครื่องดื่มในกระป๋องมีจุดเริ่มต้นช้ากว่าแต่มีจุดเริ่มต้นเหมือนกัน คือ บรรจุในขวดแก้วก่อนจากนั้นก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อบรรจุในกระป๋องเหล็กแต่ทุกวันนี้ผู้ผลิตเครื่องดื่มได้หันมาใช้กระป๋องอะลูมิเนียมแทนเนื่องจากอะลูมิเนียมมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง ได้แก่

ก. กระป๋องอะลูมิเนียมมีน้ำหนักเบากว่ากระป๋องเหล็ก – ความหนาแน่นของอะลูมิเนียมประมาณ 2.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ในขณะที่เหล็กมีความหนาแน่น 7.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
ข. กระป๋องอะลูมิเนียมไม่เป็นสนิมเหมือนเหล็ก – เนื่องจากการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ  ของอะลูมิเนียมได้สารออกไซด์ของอะลูมิเนียมที่เป็นฟิล์มบางๆเคลือบผิวของอะลูมิเนียม ในขณะที่เหล็กจะเกิดเป็นสนิม ที่กัดกร่อนผิวของเหล็กเอง
ค. การเคลือบผิวอะลูมิเนียมด้วยแลกเกอร์ทำได้ง่ายและติดแน่นกว่า
ง. อะลูมิเนียมต้านทานการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม

1. เหตุผลข้อใดเหล็กจึงได้รับความนิยมในการใช้เป็นวัสดุทำบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารหรือเครื่องดื่มมากกว่าแก้ว
เหล็กมีความเหนียวมากกว่า
เหล็กไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่ม
เหล็กป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ได้ดีกว่า
เหล็กป้องกันการกัดกร่อนจากกรดได้ดีกว่า

ใช้ข้อมูลจากแผนภาพนี้ ตอบคำถามข้อ 2 - 3

ใช้ข้อมูลจากแผนภาพนี้ ตอบคำถามข้อ 2 - 3

2. จากการทดลอง เด็กชายเอสรุปผลจากการสังเกตว่า
  • สารแบบที่ 1 เปลี่ยนรูปทรงตามภาชนะที่บรรจุและอนุภาคของสารกระจายตัวจนเต็มภาชนะ
  • สารแบบที่ 2 เปลี่ยนรูปทรงตามภาชนะที่บรรจุ แต่ปริมาตรของสารยังคงที่
  • สารแบบที่ 3 มีรูปทรงที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงรูปทรงตามภาชนะที่บรรจุ

การสังเกตสารแต่ละแบบของเด็กชายเอข้อใดถูกต้อง

ก. เกล็ดไอโอดีนในบีกเกอร์ในรูปที่ 1  เป็นสารแบบที่ 2
ข. ไอของไอโอดีนในบีกเกอร์ในรูปที่ 2 เป็นสารแบบที่ 1
ค. น้ำในขวดก้นกลมในรูปที่ 2 เป็นสารแบบที่ 3
ง. น้ำแข็งในขวดก้นกลมในรูปที่ 1 เป็นสารแบบที่ 2
จ. ผลึกไอโอดีนใต้ขวดก้นกลมในรูปที่ 3 เป็นสารแบบที่ 3
ข้อ ก และ ค
ข้อ ข และ ง
ข้อ ข และ จ
ข้อ ก และ จ
3. การเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้ ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้

ก. การกลายเป็นไอของเกล็ดไอโอดีน

ข. การที่น้ำแข็งหลอมเหลวเป็นน้ำ

ค. การเผาไหม้ของแอลกอฮอล์ที่ใส้ตะเกียงแอลกอฮอล์

ง. การเกิดสนิมบนที่กั้นลมและตะแกรงเหล็ก

ข้อ ก และ ข
ข้อ ค และ ง
ข้อ ก และ ค
ข้อ ข และ ง
4. ราเชนต้องการทำบันทึกรายการสั่งซื้ออุปกรณ์สำนักงานโดยใช้โปรแกรมทำงานตาราง ดังนี้
 
 

A

B

C

D

E

F

1

ลำดับ

รายการ

ราคาต่อหน่วย

จำนวน

หน่วย

รวมเป็นเงิน

2

1

ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน

6

10

ด้าม

a

3

2

ปากกาเคมีสีน้ำเงิน

15

3

ด้าม

b

4

3

ดินสอ 2B

9

10

แท่ง

c

5

4

เทปใส 1/2 นิ้ว

33

5

ม้วน

d

6

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น

e

ข้อใดใช้วิธีการคำนวณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในตารางที่ ถูกต้อง

ก. ค่าของ a ได้จากผลรวมของค่าตัวเลขในช่อง C2 จนถึง D2 
ข. ค่าของ b ได้จากผลคูณของค่าตัวเลขในช่อง C2 กับ D2 
ค. ค่าของ c ได้จากผลคูณของค่าตัวเลขในช่อง C4 กับ D4 
ง. ค่าของ d ได้จากผลคูณของค่าตัวเลขในช่อง C5 กับ D5 คูณกับ ½
จ. ค่าของ e ได้จากผลรวมของค่าตัวเลขในช่อง F2 จนถึง F5
ก และ ค
ข และ ง
ค และ จ
ก และ ข
5. แก้วและเพื่อน ๆ ศึกษาลักษณะของสัตว์ชนิดต่าง ๆ และบันทึกผลการศึกษา ดังตาราง

ชนิดของสัตว์

ลักษณะภายใน

ลักษณะภายนอก

A

หายใจด้วยปอด

ไม่มีขา ผิวหนังมีเกล็ด

B

หายใจด้วยปอด

มีขนเป็นเส้น มีต่อมสร้างน้ำนม

C

ออกลูกเป็นไข่

มีเกล็ด แข็ง หยาบขรุขระ

D

หายใจด้วยเหงือก ออกลูกเป็นไข่

มีเกล็ด มีครีบ

E

หายใจด้วยปอด

ขนเป็นเส้น สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ได้

F

หายใจด้วยปอด

มีขนเป็นแผง

แก้วและเพื่อนๆได้อภิปรายและจัดกลุ่มสัตว์ไว้ดังนี้

แก้ว : A และ F อยู่ในกลุ่มนก

กล้า : A และ C อยู่ในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน

ก้อย : D และ E อยู่ในกลุ่มปลา

ก้อง : B และ E อยู่ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

กลม : B และ F อยู่ในกลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

บุคคลในข้อใดจัดกลุ่มสัตว์ได้ถูกต้อง

แก้ว และ กล้า
กล้า และ ก้อง
ก้อย และ กลม
ก้อง และ กลม
6. จากรูป หมายเลข 1 - 6 เป็นอวัยวะในระบบย่อยอาหาร ข้อใดอธิบายการทำงานของอวัยวะได้ถูกต้อง

อาหารเคลื่อนที่จากอวัยวะหมายเลข 1 ไปยังหมายเลข 2, 3, 4 และ 6 ตามลำดับ
อวัยวะหมายเลข 4 ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารและน้ำในร่างกาย
เมื่อรับประทานกล้วยหอมจะมีการย่อยที่อวัยวะหมายเลข 1 และ 4
อวัยวะหมายเลข 5 ทำหน้าที่สร้างเกลือน้ำดี เพื่อช่วยย่อย สารประเภทไขมัน
7. แรงเสียดทาน คือ แรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง ผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชนิด และมีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่น กล่องไม้ที่ตั้งอยู่บนพื้นถ้าไม่มีแรงมากระทำต่อกล่องไม้ก็จะไม่มีแรงเสียดทานเกิดขึ้นแต่ถ้าเราพยายามออกแรงเคลื่อนย้ายกล่องไม้จึงจะเกิดแรงเสียดทานขึ้นซึ่งมีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่เราออกแรงขนาดของแรงเสียดทานจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุและชนิดของพื้นผิวสัมผัส
 
การกระทำข้อใดเป็นการลดแรงเสียดทาน
พ่อค้าเพิ่มจำนวนสินค้าบนรถให้มากขึ้นในวันที่มีตลาดนัด
เอ็มเบรกให้รถหยุดเมื่อมีสัณญานไฟสีแดง
บอลหยอดน้ำมันหล่อลื่นบนโซ่จักรยาน
โบ๊ตใช้กระเบื้องที่มีผิวขรุขระปูพื้นห้องน้ำ
8. ต้องออกแรงในทิศทางใด ด้วยขนาดเท่าใด จึงจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยแรงลัพธ์ขนาด 10 นิวตัน

ดันวัตถุไปทางทิศเหนือ ด้วยแรงขนาด 5 นิวตัน
ดึงวัตถุไปทางทิศใต้ด้วยแรงขนาด 5 นิวตัน
ผลักวัตถุไปทางทิศตะวันออก ด้วยแรงขนาด 5 นิวตัน
ลากวัตถุไปทางทิศตะวันตก ด้วยแรงขนาด 5 นิวตัน

อ่านบทอ่านต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๙-๑๕

อ่านบทอ่านต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๙-๑๕

คำชี้แจง   

๑. ให้นักเรียนอ่านบทความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถาม ”จริง” , “ไม่จริง” หรือ “อื่นๆ” ที่กำหนดในลำดับถัดไป ตามข้อความในบทอ่าน

๒. ข้อสอบทั้งหมดมี ๙ ข้อ

คำชี้แจง   

๑. ให้นักเรียนอ่านบทความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถาม ”จริง” , “ไม่จริง” หรือ “อื่นๆ” ที่กำหนดในลำดับถัดไป ตามข้อความในบทอ่าน

๒. ข้อสอบทั้งหมดมี ๙ ข้อ

๙. คำว่า “Timeline” สามารถแทนที่ได้ด้วยคำภาษาไทยในข้อใด

ระยะเวลา
ช่วงเวลา
เส้นทางเวลา
เส้นเวลา
๑๐. สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิที่ได้ตามวัยจาก www.trueplookpanya.com
จริง
ไม่จริง
๑๑. หากยังอายุไม่ถึง ๑๕ จะไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมได้
จริง
ไม่จริง
๑๒. หากอายุต่ำกว่า ๗ ปีจะไม่สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพ ๓๐ บาทได้
จริง
ไม่จริง
๑๓. บุคคลที่มีอายุครบ ๑๘ ปีสามารถแปลงเพศได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง
จริง
ไม่จริง
๑๔. เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วสามารถทำนิติกรรมต่าง ๆได้ด้วยตนเอง
จริง
ไม่จริง
๑๕. สามารถทำบัตรประชาชนได้ตั้งแต่อายุ ๖ ปี
จริง
ไม่จริง

๑๖. จุดประสงค์ของผู้เขียนคืออะไร

ต้องการรักษาวัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทย
ต้องการให้ทุกคนเห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
ต้องการเผยแพร่ความรู้ในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
ต้องการถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน

จงพิจารณาบทความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม ข้อ ๑๖ – ๑๗

            (๑) โลกของเราในยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  มีหลายอย่างเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย  กาลเวลาได้สร้างค่านิยมให้แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย อาหารการกิน แฟชั่น เครื่องมือสื่อสาร การศึกษา ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว บ้างก็ก่อให้เกิดผลที่ดีขึ้น บ้างก็ลิดรอนประโยชน์ ก่อให้เกิดโทษแต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ทุกคนในสังคมไม่อยากให้เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ การใช้ภาษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ  โดยเฉพาะภาษาเขียน พบว่าการเขียนภาษาไทยในปัจจุบันมีการเขียนผิดมาก โดยเฉพาะในสื่อออนไลน์  และมีการคิดค้นคำเขียนหรือคำพูดที่ผิดออกไปจากการเขียนที่ถูกต้องของภาษาไทย

            (๒) ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นรวมถึงการสื่อสารที่ทันสมัยทำให้เกิดค่านิยมใหม่ ๆ ขึ้น ซึ่งเยาวชนไทยในปัจจุบันหรือวัยรุ่นไทยได้รับค่านิยมที่ผิดๆ มาใช้ นั่นคือการใช้ภาษาแบบผิด ๆ โดยไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ส่วนใหญ่วัยรุ่นจะคิดว่าเป็นเรื่องที่เก๋ เท่ห์ หากไม่ได้ใช้ภาษานี้จะถูกมองว่า “ตกเทรนด์” แต่หารู้ไม่ว่า การใช้ภาษาเหล่านี้ทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนรุ่นหลังใช้ภาษาที่ผิด ๆ ตามไปด้วย ประเทศไทยเรานั้นมีภาษาชาติ เป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง แสดงถึงความเป็นเอกราชทางภาษาและความภาคภูมิใจ แต่เยาวชนบางส่วนกลับไม่รู้คุณค่าของสิ่งล้ำค่านี้

            (๓) โดยเยาวชนกลุ่มนี้ไม่คิดว่าการใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไป

จริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง MSN  Line  Facebook หรือ Twitter  เช่นคำว่า หวัดดี/หวาดดี-สวัสดี, ทามไรอยุ่-ทำอะไรอยู่, ฝรรดีนะ/ฝานดีนะ-ฝันดีนะ, ค่า/คร๊ะ/ค้ะ-คะ, ชิมิ/ชิมะ/ชะมะ-ใช่ไหม,

ขอโทดนะค่ะ-ขอโทษนะคะ เป็นต้น คำเหล่านี้มีผลทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย ๑ คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ อาจเป็นเพราะภาษาไทยมีพยัญชนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป เป็นเสมือนการสร้างคำ สร้างภาษาให้มีการวิบัติมากขึ้น

            (๔) การที่คนไทยเรา พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยเป็นประจำทุกวัน จนเกิดความเคยชิน อาจจะทำให้

หลาย ๆ คนไม่รู้สึกว่า “ภาษาไทย” มีความสำคัญแค่ไหน และมีคุณค่าเพียงไร หากจะเปรียบก็คงเหมือนกับ “อากาศ” ที่เราหายใจเข้าหายใจออกอยู่ตลอดเวลา จนเราแทบไม่รู้ค่าว่า หากขาดอากาศเมื่อไร เราก็ตายเมื่อนั้น ถึงแม้ว่า “ภาษาไทย” จะไม่เหมือนอากาศที่ทำให้เราถึงกับตาย แต่ถ้าหากชาติไทยเราขาด “ภาษาไทย” แล้วเราจะภาคภูมิใจในภาษาที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมได้อย่างไร

 

เรียบเรียงโดย :  สมบูรณ์  ทองสำอาง

ที่มา : https://www.sp.ac.th/2018/thai-typo-crisis/

จงพิจารณาบทความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม ข้อ ๑๖ – ๑๗

            (๑) โลกของเราในยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  มีหลายอย่างเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย  กาลเวลาได้สร้างค่านิยมให้แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย อาหารการกิน แฟชั่น เครื่องมือสื่อสาร การศึกษา ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว บ้างก็ก่อให้เกิดผลที่ดีขึ้น บ้างก็ลิดรอนประโยชน์ ก่อให้เกิดโทษแต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ทุกคนในสังคมไม่อยากให้เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ การใช้ภาษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ  โดยเฉพาะภาษาเขียน พบว่าการเขียนภาษาไทยในปัจจุบันมีการเขียนผิดมาก โดยเฉพาะในสื่อออนไลน์  และมีการคิดค้นคำเขียนหรือคำพูดที่ผิดออกไปจากการเขียนที่ถูกต้องของภาษาไทย

            (๒) ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นรวมถึงการสื่อสารที่ทันสมัยทำให้เกิดค่านิยมใหม่ ๆ ขึ้น ซึ่งเยาวชนไทยในปัจจุบันหรือวัยรุ่นไทยได้รับค่านิยมที่ผิดๆ มาใช้ นั่นคือการใช้ภาษาแบบผิด ๆ โดยไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ส่วนใหญ่วัยรุ่นจะคิดว่าเป็นเรื่องที่เก๋ เท่ห์ หากไม่ได้ใช้ภาษานี้จะถูกมองว่า “ตกเทรนด์” แต่หารู้ไม่ว่า การใช้ภาษาเหล่านี้ทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนรุ่นหลังใช้ภาษาที่ผิด ๆ ตามไปด้วย ประเทศไทยเรานั้นมีภาษาชาติ เป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง แสดงถึงความเป็นเอกราชทางภาษาและความภาคภูมิใจ แต่เยาวชนบางส่วนกลับไม่รู้คุณค่าของสิ่งล้ำค่านี้

            (๓) โดยเยาวชนกลุ่มนี้ไม่คิดว่าการใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไป

จริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง MSN  Line  Facebook หรือ Twitter  เช่นคำว่า หวัดดี/หวาดดี-สวัสดี, ทามไรอยุ่-ทำอะไรอยู่, ฝรรดีนะ/ฝานดีนะ-ฝันดีนะ, ค่า/คร๊ะ/ค้ะ-คะ, ชิมิ/ชิมะ/ชะมะ-ใช่ไหม,

ขอโทดนะค่ะ-ขอโทษนะคะ เป็นต้น คำเหล่านี้มีผลทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย ๑ คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ อาจเป็นเพราะภาษาไทยมีพยัญชนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป เป็นเสมือนการสร้างคำ สร้างภาษาให้มีการวิบัติมากขึ้น

            (๔) การที่คนไทยเรา พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยเป็นประจำทุกวัน จนเกิดความเคยชิน อาจจะทำให้

หลาย ๆ คนไม่รู้สึกว่า “ภาษาไทย” มีความสำคัญแค่ไหน และมีคุณค่าเพียงไร หากจะเปรียบก็คงเหมือนกับ “อากาศ” ที่เราหายใจเข้าหายใจออกอยู่ตลอดเวลา จนเราแทบไม่รู้ค่าว่า หากขาดอากาศเมื่อไร เราก็ตายเมื่อนั้น ถึงแม้ว่า “ภาษาไทย” จะไม่เหมือนอากาศที่ทำให้เราถึงกับตาย แต่ถ้าหากชาติไทยเราขาด “ภาษาไทย” แล้วเราจะภาคภูมิใจในภาษาที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมได้อย่างไร

 

เรียบเรียงโดย :  สมบูรณ์  ทองสำอาง

ที่มา : https://www.sp.ac.th/2018/thai-typo-crisis/

๑๗. จากบทความในย่อหน้าที่ ๓. เป็นการใช้โวหารประเภทใด

บรรยายโวหาร
พรรณนาโวหาร
เทศนาโวหาร
สาธกโวหาร
ผู้สอบพึ่งพอใจในการใช้ระบบสอบออนไลน์มากน้อยเพียงใด (คะแนน 1 - 5)
ผู้สอบอยากแนะนำบอกต่อเกี่ยวกับโรงเรียนสาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม
ให้กับคนรู้จักมากน้อยเพียงใด (คะแนน 1-10)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
{"name":"ม.1_Part2 ตัวอย่างข้อสอบสำหรับสอบคัดเลือก Minimum Standard Requirement (MSR) เพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 กรุณาอ่านคำอธิบายให้เข้าใจ ก่อนลงมือทำข้อสอบ ข้อสอบทดลองระบบสอบออนไลน์ครั้งนี้ เป้าหม", "url":"https://www.quiz-maker.com/QQVKY6E70","txt":"โปรดระบุ ชื่อ-นามสกุล ภาษาไทย (โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้านาม), ระดับที่กำลังศึกษาอยู่ปัจจุบัน","img":"https://www.quiz-maker.com/3012/images/ogquiz.png"}
Powered by: Quiz Maker